...ใครที่เพิ่งเรียนจบ แล้วอยากทำงานราชการ ก่อนอื่นจะต้องสอบเข้าบรรจุเป็นข้าราชการ หรือสอบก.พ. นั้นเอง วันนี้จะมาทำความรู้จักการสอบเข้าข้าราชการเบื้องต้น นั้นก็คือ การสอบภาค ก
การสอบ ก.พ. เป็นข้อสอบกลางเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานกับหน่วยงานราชการต่างๆ หรือทำงานราชการ โดยแบ่งเป็น
การสอบ ภาค ก – เป็นการสอบวัดความรู้ทั่วไป (สอบข้อเขียน)
การสอบ ภาค ข - เป็นการสอบวัดความสามารถเฉพาะตำแหน่งตามวิชาชีพ (สอบข้อเขียน)
การสอบ ภาค ค – สอบสัมภาษณ์ เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการคัดเลือก
ซึ่งผู้ที่จะบรรจุเข้าทำงานราชการได้ จะต้องสอบผ่านต้อง 3 ภาค โดยจะต้องสอบภาค ก ก่อนจึงจะสอบภาคอื่นๆได้
การสอบภาค ก : ใน 1 ปีมีสอบภาค ก เพียงครั้งเดียว ซึ่งมีกำหนดการดังนี้
กำหนดการ | เวลา |
---|---|
รับสมัครสอบ | ช่วงเดือนมีนาคม (2-22 มีนาคม 2559) |
สอบ | ช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม (30 ก.ค. และ 21 ส.ค. 2559) |
ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่าน | ช่วงเดือนพฤศจิกายน (4 พ.ย. 2559) |
สมัครสอบได้ที่เว็บไซต์ : http://job3.ocsc.go.th*หมายเหตุ : ค้นหาข้อมูลเมื่อ วันที่ 7 มิ.ย. 2559 ข้อมูลจึงอาจเปลี่ยนแปลงได้
คุณสมบัติของผู้สมัครสอบ
เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษา หรือผู้ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาภายในปีการศึกษาที่สมัครสอบในระดับ
- ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
- ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
- ปริญญาตรี
- ปริญญาโท
เกณฑ์การสอบผ่าน
- ป.ตรี วิชาความสามารถทั่วไปและภาษาได้ รวมกันไม่ต่ำกว่า 60%, ภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่า 50%
- ป.โท วิชาความสามารถทั่วไปและภาษาได้ รวมกันไม่ต่ำกว่า 65%, ภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่า 50%
วิชาที่ใช้สอบภาค ก
1. วิชาความสามารถทั่วไป
1.1 ความสามารถทางด้านการคิดคำนวณ การประยุกต์ใช้ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของจำนวนหรือปริมาณ การแก้ปัญหาเชิงปริมาณ และข้อมูลต่างๆ
1.1.1 อนุกรม
1.1.2 โจทย์คณิตศาสตร์
1.1.3 การวิเคราะห์ข้อมูล
1.1.4 สดมภ์
1.2 ความสามารถทางด้านเหตุผล การคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงของคำ ข้อความ หรือรูปภาพ การหาข้อยุติ หรือข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อความ สัญลักษณ์ สถานการณ์หรือแบบจำลองต่างๆ
1.2.1 อุปมาอุปไมย
1.2.2 การสรุปความจากภาษา
1.2.3 การสรุปความจากสัญลักษณ์
1.2.4 การสรุปเหตุผลเชิงตรรกะ
2. วิชาภาษาไทย
2.1 ความเข้าใจภาษา การอ่านและการทำความเข้าใจกับบทความ หรือข้อความที่กำหนดให้แล้วตอบคำถามที่ตามมาในแต่ละบทความหรือข้อความ รวมไปถึงการสรุปความ และตีความด้วย
2.1.1 แนวคำถามการวัดความเข้าใจภาษาที่เป็นข้อความสั้น ๆ
2.1.2 แนวคำถามการวัดความเข้าใจภาษาที่เป็นบทความ
2.2 การใช้ภาษา การเลือกใช้คำหรือกลุ่มคำ การเขียนประโยคได้ถูกต้องตามหลักภาษาและการเรียงข้อความ
2.2.1 แนวคำถามการเลือกใช้คำที่ถูกต้องเติมลงในช่องว่าง
2.2.2 แนวคำถามการเติมคำในบทความ
2.2.3 แนวคำถามการเลือกใช้คำในประโยคที่ถูกต้อง
2.2.4 แนวคำถามการสะกดคำได้ถูกต้อง
2.2.5 แนวคำถามการเรียงลำดับข้อความให้ถูกต้อง
3. ภาษาอังกฤษ
3.1. อ่าน
3.2. คำศัพท์
3.3. สนทนา
3.4. จับผิด
ถาม-ตอบ
Q: | ผลการสอบภาค ก มีอายุกี่ปี ? |
---|---|
A: | ไม่มีวันหมดอายุ |
Q: | ผลการสอบภาค ก จะนำไปรวมกับคะแนนภาคอื่นๆหรือไม่ ? |
---|---|
A: | ผลการสอบภาค ก จะไม่รวมกับคะแนนภาคอื่นๆ หากสอบผ่านแล้วไม่จำเป็นต้องสอบให้ได้คะแนนที่สูงขึ้น |
Q: | จบม.6 สมัครสอบได้ไหม? |
---|---|
A: | ผู้สมัครสอบต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษา หรือกำลังจะสำเร็จการศึกษาในปี การศึกษาที่สมัครสอบในระดับ ปวช. ปวส. ปริญญาตรี หรือปริญญาโท สำหรับผู้ที่จบ ม.6 ไม่สามารถสมัครสอบได้ |
ที่มาของข้อมูล
- สอบ กพ 59 - Pantip - (ความคิดเห็นที่ 3)
- สำนักงาน ก.พ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น